เมนู

อรรถกถาอารักขสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอารักขสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตฺตรูเปน ได้แก่ ตามอนุรูปคือตามควรแก่ตน อธิบายว่า
ตามความใคร่ประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า รชนีเยสุ ความว่า ในธรรมเป็น
ปัจจัยแห่งราคะ. บทว่า ธมฺเมสุ ความว่า ในสภาวะ คือ อารมณ์ที่น่า
ปรารถนา. นัยในบททั้งปวง พึงทราบอย่างนี้. บทว่า นจฺฉมฺภติ ความว่า
ย่อมไม่หวาดเสียวด้วยอำนาจทิฏฐิ. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้. บทว่า น จ ปน
สมณวจนเหตุปิ คจฺฉติ ความว่า ย่อมไม่เขวไปแม้เพราะเหตุแห่งถ้อยคำ
ของสมณะผู้กล่าววาทะที่เป็นปรปักษ์ คือไม่ละทิฏฐิของตนเขวไปด้วยอำนาจทิฏฐิ
ของสมณะเหล่านั้น. แม้ในที่นี้ก็ประสงค์เอาพระขีณาสพเท่านั้น.
จบอรรถกถาอารักขสูตรที่ 7

8. สังเวชนียสูตร


ว่าด้วยสังเวชนียสถาน 4 แห่ง


[118] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สถานที่ควรเห็น ควรให้เกิดความสังเวช
แห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา 4 แห่งนี้ 4 แห่งเป็นไฉน ? คือ สถานที่ควรเห็น
ควรให้เกิดความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธาว่า พระตถาคตประสูติ ณ ที่นี้ 1
พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ที่นี้ 1 พระตถาคตทรง
ประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ณ ที่นี้ 1 พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิ-
เสสนิพพานธาตุ ณ ที่นี้ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สถานที่ควรเห็น ควรให้เกิด
ความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา 4 แห่งนี้แล.
จบสังเวชนียสูตรที่ 8

อรรถกถาสังเวชนียสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสังเวชนียสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทสฺสนียานิ แปลว่า ที่ควรเห็น. บทว่า สํเวชนียานิ
ได้แก่ สถานที่ให้เกิดความสังเวช.
จบอรรถกถาสังเวชนียสูตรที่ 8

9. ปฐมภยสูตร


ว่าด้วยภัย 4 ประการ


[119] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย (สิ่งที่น่ากลัว) 4 ประการนี้ ภัย 4
ประการเป็นไฉน คือ ชาติภัย 1 ชราภัย 1 พยาธิภัย 1 มรณภัย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล ภัย 4 ประการ.
จบปฐมภยสูตรที่ 9

อรรถกถาปฐมภยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมภยสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
ภัยที่ปรารภชาติเกิดขึ้น ชื่อว่า ชาติภัย. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
จบอรรถกถาปฐมภยสูตรที่ 9